top of page

หลักสูตรประกาศนียบัตร

จิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ (ป.จพ.)

Certificate of Buddhist Counseling Psychology (BCP)

ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

หลักสูตรใหม่ พ.ศ.๒๕๖๔

สำหรับบรรพชิตและคฤหัสถ์

  • ชื่อหลักสูตร

ประกาศนียบัตรจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ (ป.จพ.)

Certificate in Buddhist Counseling Psychology (Cert. in BCP)

  • วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

๑. เพื่อผลิตพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ในระดับประกาศนียบัตรจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธที่มีความรู้ความเข้าใจในทฤษฎีและหลักการให้การปรึกษาเบื้องต้น

๒. เพื่อผลิตพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ในระดับประกาศนียบัตรจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ ให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะในการให้การปรึกษาแนวพุทธเป็นรายบุคคล รายกลุ่ม

๓. เพื่อผลิตพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ในระดับประกาศนียบัตรจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ ให้สามารถประยุกต์ความรู้ ความเข้าใจและทักษะการให้การปรึกษาแนวพุทธเพื่อให้เกิดปัญญาความงอกงามแห่งตนเองและบุคคลอื่น ชุมชน สังคม

คุณสมบัติผู้เข้าศึกษา

     ๑. เป็นพระภิกษุสามเณรสำเร็จการศึกษานักธรรมชั้นเอก หรือ

     ๒. เป็นคฤหัสถ์สำเร็จการศึกษาธรรมศึกษาชั้นเอก และเป็นผู้มีประสบการณ์ ในการทำงานมาไม่ต่ำกว่า ๒ ปี หรือ

     ๓. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.๖ หรือเทียบเท่าเป็นต้นไป หรือ

     ๔. เป็นผู้ที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอนุมัติให้เข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษ

ระยะเวลาการศึกษา

     หลักสูตร ๑ ปี ใช้ระบบทวิภาค (Semester Credit System) โดยแบ่งเวลาการศึกษาออกเป็น ๒ ภาคการศึกษา คือ

     ภาคการศึกษาที่ ๑ มีการศึกษาไม่ต่ำกว่า ๑๕ สัปดาห์

     ภาคการศึกษาที่ ๒ มีการศึกษาไม่ต่ำกว่า ๑๕ สัปดาห์

     ทั้งนี้ผู้สำเร็จตามหลักสูตรต้องเข้าปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๗ วัน

การวัดผล

     การวัดผลเป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย คือ

     ๑. ให้มีการวัดผลการศึกษาทุกรายวิชาที่ผู้เรียนได้ลงทะเบียนไว้

     ๒. ต้องมีเวลาเรียนในแต่ละรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในภาคการศึกษานั้น จึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบในรายวิชานั้น

     ๓. การประเมินผลการศึกษาในแต่ละรายวิชา ให้มีผลการศึกษาระดับ (Grade) และค่าระดับ (Grade Point)

การสำเร็จการศึกษา

     ๑. สอบได้หน่วยกิตสะสมครบตามหลักสูตรและมีค่าเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่าระดับ ๒.๐๐

     ๒. ผ่านการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน/ฝึกภาคปฏิบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

     ๓. ไม่มีพันธะใดกับมหาวิทยาลัย

     ๔. ผู้สำเร็จการศึกษามีสิทธิที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นปริญญาตรี ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในสาขาวิชาที่กำหนด

 

โครงสร้างหลักสูตร

 

     มีรายวิชาจำนวน ๒๔ หน่วยกิต ประกอบด้วย วิชาบังคับเอก จำนวน ๑๘ หน่วยกิต (๖ วิชา) วิชาบังคับเลือก จำนวน ๖ หน่วยกิต (๒ วิชา) รวม จำนวน ๒๔ หน่วยกิต

วิชาบังคับ ผู้เรียนจะต้องศึกษา จำนวน ๑๘ หน่วยกิต จากรายวิชาต่อไปนี้

     ๑. จพ ๐๐๑    แนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาการปรึกษา      

     ๒. จพ ๐๐๒    พุทธจิตวิทยาเพื่อพัฒนาความงอกงาม

     ๓. จพ ๐๐๓    พุทธจิตวิทยาเพื่อการปรึกษา

     ๔. จพ ๐๐๔    ทักษะและกระบวนจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ 

     ๕. จพ ๐๐๕    จิตวิทยาการปรึกษากลุ่ม

     ๖. จพ ๐๐๖    การฝึกปฏิบัติจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ

         

วิชาเลือก ผู้เรียนจะต้องศึกษา จำนวน ๖ หน่วยกิต จากรายวิชาต่อไปนี้

     ๑. จพ ๐๐๗    วิปัสสนาเพื่อการปรึกษา

     ๒. จพ ๐๐๘    สัมมนาจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ

     ๓. จพ ๐๐๙    จิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธสำหรับผู้สูงอายุ    

     ๔. จพ ๐๑๐    จิตวิทยาแนวพุทธสำหรับคนวัยทำงาน

หมายเหตุ วิชาละ ๓ หน่วยกิต

 

คำอธิบายรายวิชา

 

     หลักสูตรประกาศนียบัตรจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ มีจำนวนหน่วยกิตทั้งหมด ๒๔ หน่วยกิต มีรายละเอียดของรายวิชาที่เปิดสอนดังต่อไปนี้

  • วิชาบังคับ

     จพ ๐๐๑ แนวคิดทฤษฎีจิตวิทยาการปรึกษา (Concepts and Theories in Counseling Psychology) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการทางจิตวิทยาและหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจความทุกข์หรือปัญหาที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ ประยุกต์แนวคิดทฤษฎีและหลักธรรมเพื่อให้การปรึกษาอย่างเป็นรูปธรรม

     จพ ๐๐๒ พุทธจิตวิทยาเพื่อพัฒนาความงอกงาม (Buddhist Psychology for Personal Growth) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการทางจิตวิทยา หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาเพื่อทำความเข้าใจการรับรู้ในตนเอง พัฒนาความสามารถและศักยภาพของตนมาใช้เพื่อความเข้าใจ ยอมรับตนเองและผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม เพื่อพัฒนาตนให้มีคุณลักษณะของจิตที่งอกงามตามแนวพุทธจิตวิทยา

     จพ ๐๐๓ พุทธจิตวิทยาเพื่อการปรึกษา (Buddhist Psychology for Counseling) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการทางจิตวิทยาและพุทธศาสนา รูปแบบและกระบวนการการปรึกษาขั้นพื้นฐานเป็นรายบุคคล โดยบูรณาการการปรึกษาตามแนวจิตวิทยาและพุทธจิตวิทยา เพื่อการเอื้ออำนวยให้ผู้มาปรึกษาสามารถคลี่คลายทุกข์ สามารถดำรงชีวิตในวิถีที่มีคุณค่า

     จพ ๐๐๔ ทักษะและกระบวนจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ (Skills and Process in Buddhist Counseling) ศึกษาหลักการและวิธีการจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ โดยเน้นการฝึกทักษะและกระบวนการเพื่อให้เกิดความชำนาญและสามารถใช้ทักษะได้อย่างมีประสิทธิภาพในเชิงปฏิบัติ สามารถประยุกต์องค์ความรู้ กระบวนการและทักษะมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพ ป้องกัน บรรเทาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ของบุคคล

     จพ ๐๐๕ จิตวิทยาการปรึกษากลุ่ม (Group Counseling) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี หลักการ รูปแบบ กระบวนการและทักษะการปรึกษากลุ่มตามแนวจิตวิทยา สามารถนำความรู้และทักษะไปใช้ในการสนทนากลุ่มได้

     จพ ๐๐๖ การฝึกปฏิบัติจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ (Practicum in Buddhist Counseling Psychology) การฝึกปฏิบัติจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธในสถานที่/แหล่งฝึกปฏิบัติที่กำหนดให้ โดยบูรณาการ แนวความคิดทฤษฎี หลักการ กระบวนการและทักษะการปรึกษาตามหลักจิตวิทยาและพุทธจิตวิทยา เพื่อการปรึกษาเป็นรายบุคคล

  • วิชาเลือก

     จพ ๐๐๗ วิปัสสนาเพื่อการปรึกษา (Mindfulness meditation for Counseling Psychology) ศึกษาความหมาย หลักการ วิธีการ และประโยชน์ของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน วิธีการปฏิบัติตามหลักสติปัฏฐาน ๔ อานาปานสติ วิธีการปฏิบัติกรรมฐานทั้งแบบสมถและวิปัสสนา เพื่อประยุกต์ใช้สำหรับการให้การปรึกษา

     จพ ๐๐๘ สัมมนาจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ (Seminar on Buddhist Counseling Psychology) สัมมนาการฝึกปฏิบัติการทางจิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธ โดยบูรณาการแนวความคิดทฤษฎี หลักการ กระบวนการและทักษะการปรึกษาตามหลักจิตวิทยาและพุทธจิตวิทยาเป็นรายบุคคลโดยเน้นกระบวนอภิปราย วิเคราะห์ประเด็นที่เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติและนำเสนอทิศทางแนวโน้มของการปรึกษาในอนาคต

     จพ ๐๐๙ จิตวิทยาการปรึกษาแนวพุทธสำหรับผู้สูงอายุ (Buddhist Counseling Psychology for the Elderly) ศึกษาทฤษฎีพัฒนาการของผู้สูงอายุตามแนวจิตวิทยาและพุทธศาสนา การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญา การปรับตัว ปัญหาสุขภาพกาย สุขภาพจิต รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ และศึกษาวิเคราะห์กระบวนการการปรึกษาเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาในผู้สูงอายุ

     จพ ๐๑๐ จิตวิทยาแนวพุทธสำหรับคนวัยทำงาน (Buddhist Psychology for Working Aged People) ศึกษาประเด็นสำคัญของหลักการ แนวคิดจิตวิทยาและพุทธจิตวิทยาเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานและความสมดุลในการดำเนินชีวิต

bottom of page